เกร็ดน่ารู้.. กับพิธีสวดอภิธรรมในงานศพ

      เป็นที่ทราบกันดีตามประเพณีไทยว่า ก่อนจะทำการฌาปนกิจศพ จะมีการจัดงานบำเพ็ญกุศลหรือที่เรียกว่า “พิธีสวดอภิธรรม” นั่นเองค่ะ
ซึ่งพิธีนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สวดหน้าศพ” โดยนิยมจัดขึ้นตั้งแต่วันตั้งศพเป็นวันแรกและสวดประจำทุกคืน ส่วนมากจะนิยมสวด 1 คืน, 3 คืน, 5 คืน หรือ 7 คืนค่ะ แต่ในบางกรณีอาจมีการสวดพระอภิธรรมศพจนครบ 100 วัน หรือจนกว่าจะถึงวันฌาปนกิจศพค่ะ ส่วนสาเหตุที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยนำเอาคัมภีร์พระอภิธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องกับพิธีนี้ ก็เพราะ...
1. สอนให้ผู้ฟังและผู้ร่วมงานนั้นพิจารณาและเห็นสัจธรรม หรือความจริงของชีวิตที่ว่า “ไม่มีใครหลีกหนีความตายได้พ้น” ได้โดยง่าย
2. เป็นการสวด เพื่อให้บุญ หรืออุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ล่วงลับ เป็นการแสดงถึงความรัก ความเคารพนับถือ และความกตัญญูกตเวทีต่อผู้วายชนม์ที่ได้จากไป
3. เป็นการตอบแทนหรือสนองบุญคุณแก่บิดา มารดา เมื่อถึงแก่กรรม ตามแบบพระจริยวัตรของพระพุทธเจ้าที่ได้เสด็จขึ้นไปแสดงพระอภิธรรมเทศนาแด่พุทธมารดาที่สิ้นพระชนม์ไปแล้วบนสวรรค์ หรือถึงแม้ว่าผู้ล่วงลับจะไม่ใช่บิดา มารดาก็ตาม แต่การนำพระอภิธรรมมาแสดงธรรมเทศนาในงานศพก็ถือเป็นประเพณีไปแล้วค่ะ
4. พระอภิธรรมเป็นคำสอนขั้นสูงที่มีเนื้อหาละเอียดลึกซึ้ง หากนำมาแสดงธรรมเทศนาในงานบำเพ็ญกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับแล้ว ผู้ล่วงลับจะได้รับบุญมาก บางครั้งเรียกการสวดพระอภิธรรมนี้ว่า “การสวดมาติกา” ค่ะ
แต่หากเป็นงานพระศพของบุคคลสำคัญในราชวงศ์จะเรียกว่า “พิธีสดับปกรณ์” ที่เพี้ยนมาจากคำว่า “สัตตปกรณ์” หมายถึง “พระอภิธรรม 7 คัมภีร์” นั่นเองค่ะ

บุญรักษาค่ะ_/\_
ขอบคุณแหล่งข้อมูล อ้างอิงจาก เว็บไซต์ wreathmala.com


สิ่งของที่จำเป็นต้องใช้

ร้านแนะนำ