การอาบน้ำศพ การรดน้ำศพ

 การอาบน้ำศพ เป็นหน้าที่ของคนในครอบครัว ทำเพื่อชำระร่างกายให้สะอาด และแต่งตัวให้ผู้เสียชีวิต

การอาบน้ำศพนิยมอาบด้วยน้ำอุ่นและล้างด้วยน้ำเย็น ฟอกสบู่ให้ทั่วร่างกายให้สะอาด หลังจากนั้นทาขมิ้นและพรมน้ำหอมให้ทั่ว หลังจากนั้นก็ทำการแต่งตัวให้ศพและหวีผมให้เรียบร้อย ถ้าเป็นข้าราชการก็แต่งเครื่องแบบข้าราชการนั้นๆ และนำศพขึ้นบนเตียง คลุมด้วยผ้าใหม่ๆ หรือผ้าแพรเพื่อทำพิธีรดน้ำต่อไป (อ่านเพิ่ม ทำไมต้องอาบน้ำศพ ? ทำไมต้องแต่งตัวศพ ? ทำไมต้องหวีผม ? )

 การรดน้ำศพ ต้องเตรียมอุปกรณ์ ที่จำเป็นได้แก่ ขันใส่น้ำผสมน้ำอบน้ำหอม และขันเล็กไว้ตักน้ำยื่นให้แขก และขันขนาดใหญ่มีพานรองรับน้ำที่รดมือผู้เสียชีวิต

เมื่อพิธีพร้อมก็เชิญประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย และที่หน้าศพ แล้วทำพิธีรดน้ำศพต่อไป นิยมรดน้ำเวลา 16.00-17.00 น. โดยให้ผู้อาวุโสสูงสุดรดน้ำเป็นคนสุดท้าย เมื่อรดน้ำศพเสร็จแล้ว นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้พร้อมกับอธิฐานว่า "ขอจงไปสู่สุคติๆเถิด" (อ่านเพิ่ม ทำไมต้องรดน้ำศพ ? )

เมื่อทำการรดน้ำศพเรียบร้อยแล้ว เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่วัดทำพิธีตั้งศพเพื่อประกอบพิธีบำเพ็ญกุศล ถ้าเป็นพิธีราชการ นิยมนิมนต์พระสงฆ์ 10 รูป ถ้าชาวบ้านทั่วไปนิมนต์พระสงฆ์ 1 รูป เพื่อทำพิธีบังสุกุล ถือว่าเป็นเสร็จพิธีตั้งศพ โดยเจ้าหน้าที่จะทำพิธีมัตราสังและนำเหรียญใส่ปาก และต่อไปก็เป็นพิธีบำเพ็ญกุศลศพสวดพระอภิธรรมตามจำนวนวันแล้วแต่เจ้าภาพ 3 วัน 5 วัน 7 วัน เป็นต้น (อ่านเพิ่ม ทำไมต้องมัตราสัง ? ทำไมต้องนำเหรียญใส่ปากศพ? )

*สถานที่จัดงานศพอาจแต่งต่างกันไปตามพื้นที่ บางที่ก็นิยมจัดที่บ้าน บางที่ก็นิยมจัดงานที่วัด
*สิ่งของที่ต้องเตรียมถวายพระ (สังฆทาน,ดอกไม้ ตามจำนวนพระสงฆ์)


สิ่งของที่จำเป็นต้องใช้